Politics of Aristotle : การเมืองแบบอริสโตเติล
บิดาแห่งสาขารัฐศาสตร์

ขอบอก ! ขอบอก ! บอกก่อนเลยนะว่าเขียนขำๆเพราะไม่รู้จะเขียนอะไร ตอนแรกว่าจะเขียนถึงท่านเพลโต(ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, อังกฤษ: Plato) เพราะว่าท่านเป็นบิดาปรัชญาการเมือง แต่พอจะเขียนดันนึกถึงท่านอริสโตเติลเสียนี้กะไร เพราะ มันมาแว๊บในหัวกับคำว่า"ประชาธิปไตย" พูดถึงคำนี้ก็ โดนอ้างบ่อยเสียเหลือเกิน อะไรๆก็ประชาธิปไตย
ถ้าเป็นสมัยนี้ถ้าชาวบ้านยังการศึกษาน้อยอยู่คงจะคิดแล้วว่า ชื่อ กิ๊กใคร ชู้ ใคร ลูกหลานใครเป็นแน่ 555+ (มีคนคิดป่าวว่ะ ถ้ามี งานนี้เข้า นายกฯกับรมว.ศึกษาฯ เต็มๆ โทษฐานไม่ส่งเสริมการศึกษาให้ประชาชน ตามพรบ.การศึกษาฯ)
ว่ากันไปแล้ว คำว่า "ประชาธิปไตย" มีความหมายในหลายแง่ กว่าที่พูดกันมากนัก คุณล่ะ คิดว่าประชาธิปไตยคืออะไร ? (อย่าบอกนะว่าเป็นชื่อลูกข้างบ้าน)
สำหรับผมแล้วตอบแบบบ้านๆโดยไม่ต้องอิงอะไรเลย มันเป็นมากกว่าเพียงแค่การเลือกตั้งหรือเลือกตัวแทนเข้าสู่สภาเพื่อเลือกรัฐบาลแล้วจบโดยไม่ต้องคิดอะไรอีก มันไม่ใช่ เพราะแบบนั้น มันแสดงถึงความไม่รับผิดชอบต่อตัวเอง ไม่รับผิดชอบต่อครอบครัว ไม่รับผิดชอบต่อสังคม และบ้านเมือง เพราะเท่ากับเพิกเฉยในการใช้สิทธิอื่นในฐานะหน้าที่พลเมืองดีของประเทศที่สามารถทำได้อีกตามขอบเขตของรัฐธรรมนูญ
ว่าไปแล้วเดี่ยวยาว เอาไว้ไปต่อบทความหน้าโน่น....แล้วกัน มาพูดถึงอริสโตเติลกันดีกว่า
ว่ากันไป.....อริสโตเติล 1ใน 3 Big 3 ของเอเธนส์ (1ใน 3 Big 3 ก็มี โสเครตีส เพลโต และอริสโตเติล ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งนั้น ประมาณ Art ตัวพ่อได้เลยก็ว่าได้ )
Socrates | Plato | Aristotle |
อริสโตเติล เป็นคนที่วางรากฐานอะไรไว้หลายๆ อย่าง ทั้งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ตรรกศาสตร์ ชีววิทยา ปรัชญา และหลายๆ อย่างก็ยังถูกนำมาใช้อยู่ในปัจจุบันโดยได้รับอิทธิพลจากเพลโตซึ่งเป็นอาจารย์ของเขา
ที่ยกอริสโตเติลมาก็อยากที่บอกในข้างต้น (มีแรงบันดาลใจ) ก็จะพูดถึงเฉพาะในแง่แนวความคิดทางการเมืองของเขา ในที่นี้นะ เพราะในช่วงนี้ มีคนพูดและใช้คำว่า "ประชาธิปไตย" กันบ่อย และการใช้คำนี้แทบทุกครั้ง มักเป็นไปตามการตีความเพื่อเข้าข้างตัวเองกัน จำได้ว่า ตอนเด็กๆ เรามักจะเรียนว่า รากเหง้าของประชาธิปไตยมีมาตั้งแต่สมัยกรีก แต่บิ๊กทรี (ท่านโสเครตีส) คนแรกไม่ได้พูดอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก ส่วนคนที่สอง (ท่านเพลโต) ระบบการปกครองที่ถวิลหากลับเป็นการปกครองด้วยคนๆ เดียว (philosopher king) มากกว่า (เพราะเข็ดแล้วในกรณีโสเครตีส) ก็เลยกลายเป็นบิ๊กทรีคนสุดท้าย(ท่านอริสโตเติล) ที่พูดถึงการปกครองในแบบประชาธิปไตย
ดังนั้นเราควรจะมาดูถึงแนวคิดพื้นฐานของท่านอริสโตเติลกันก่อน ว่า เป็นมาอย่างไร ?
อริสโตเติล มองคนเป็นเหมือนสิ่งมีชีวิตที่สามารถใช้เหตุผลได้ และเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความอยากที่จะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน อยู่รวมๆ กัน เป็นสังคม (มนุษย์เป็นสัตว์สังคม) แน่นอนว่า เมื่ออยู่กันเป็นสังคม มันก็ควรที่จะต้องมีการร่างกฎระเบียบเพื่อที่จะ ศึกษาเรื่องราว รวมถึงระเบียบของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ซึ่งอริสโตเติลได้นำเสนอในรูปแบบของการวางบรรทัดฐาน หรือการสร้างภาพว่า การเมืองที่ดี มันควรจะเป็นยังไง มากกว่าที่จะมานั่งบอกรายละเอียด เป็น case study เพื่อการศึกษา และอริสโตเติล ยังได้รวมสิ่งที่เรียกว่า จริยธรรม เข้ากับปรัชญาการเมือง แทนที่จะแยกออกจากกันอย่างชัดเจนอีกด้วย
ขอขั้นนิดนึง พูดถึงตรงนี้ ทำให้นึกถึง ท่านพุทธทาสภิกขุ เรื่องเกี่ยวกับธรรมะกับการเมือง....
แค่นี้แหละ ต่อๆดีกว่า...
อริสโตเติล ชี้ให้เห็นว่า พื้นฐานของการที่คนจะอยู่ร่วมกันได้นั้น มันควรที่จะต้องวางอยู่บนรากฐานของ รัฐธรรมนูญ (constitution) ซึ่งนักการเมืองเป็นผู้ร่างและจัดทำขึ้น และหลังจากร่างเสร็จ และบังคับใช้ นักการเมืองยังควรที่จะต้อง ติดตามตรวจสอบ และแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป รวมถึงป้องกันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะกระทบกับระบบการปกครองที่ใช้อยู่ตามรัฐธรรมนูญ
ไม่น่าเชื่อว่า เรื่องพวกนี้จะพูดกันตั้งแต่เมื่อสองพันปีก่อนแล้วจริงๆ Oh My God !
แน่นอนว่า จะมีประชาธิปไตยเบ่งบานมาตั้งแต่ต้น ตั้งแต่สมัยนั้น เพราะเอาเข้าจริงๆ แล้ว คนที่มีสิทธิที่จะเลือก หรือมีส่วนร่วมทางการเมือง ก็ยังถูกจำกัดอยู่ตามสถานะทางสังคม มีการแบ่งคนที่จะดำรงสถานะของพลเมืองได้ ตามแนวของอริสโตเติล เช่น ทาส เด็ก และผู้สูงอายุ จะไม่สามารถมีสิทธิเสียงหรือมีส่วนร่วมบางอย่างได้ (อันนี้คงต้องเข้าใจด้วยว่า สภาพของรัฐ ที่เป็น city-state นั้น คงไม่มีกลไกการป้องกันความมั่นคงอย่างเด่นชัดเหมือนรัฐชาติในสมัยนี้) โดยสรุปแล้ว อริสโตเติล กำหนดให้ คนที่จะดำรงสถานะพลเมือง (citizen) ได้นั้น จะต้องเป็นคนที่มีสิทธิที่จะเข้าร่วมในการมีสิทธิออกเสียง หรือมีส่วนในการออกและบังคับใช้กฎหมาย
รัฐธรรมนูญ ของอริสโตเติล นั้น ถือได้ว่า เป็นแม่แบบที่จะกำหนดรูปแบบของรัฐบาลที่ปกครองประเทศ รูปแบบของรัฐบาลของอริสโตเติล มีอยู่ 6 แบบ แบ่งเป็น แบบดี 3 แบบ และแบบไม่ดี 3 แบบ
| Correct | Deviant |
One Ruler | Kingship | Tyranny |
Few Rulers | Aristocracy | Oligarchy |
Many Rulers | Polity | Democracy |
สรุป
Monarchy (มีราชาเพียงคนเดียวเป็นผู้ปกครอง)
Aristocracy (กลุ่ม อภิชน ซึ่งมี สติปัญญา และ คุณธรรม จำนวนน้อยเป็นผู้ปกครอง)
Polity (กลุ่ม อภิชน ซึ่งจำนวนมากกว่าในระบบ Aristocracy บ้าง เป็นผู้ทำการปกครอง แต่ไม่ใช่ประชาชนทั้งหมดเป็นผู้ปกครอง)
ในขณะที่การปกครองที่อริสโตเติลถือว่า ไม่ดี ได้แก่
Democracy (ประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นคนจนเป็นผู้ปกครอง)
Oligarchy (คนส่วนน้อยซึ่งอริสโตเติลหมายถึงคนรวย เป็นผู้ปกครอง)
Tyranny (ผู้เผด็จอำนาจเพียงคนเดียวเป็นผู้ปกครอง)
น่าแปลกใจไหมว่า ทำไม Democracy ถึงอยู่ในแบบไม่ดี
มาดูรายละเอียดกันดีกว่า
ไม่ขออธิบายแบบแรก เพราะดูเหมือนจะเข้าใจไม่อยาก แบบสองก็ไม่ใช่ประเด็นในตอนนี้ มาเอาแบบที่สามก่อนเลยดีกว่า
ทำไม Democracy ตามความคิดของอริสโตเติลตอนนั้น ถึงไม่ใช่รูปแบบการปกครองที่ดี เราคงจะต้องดูก่อนว่า ประชาธิปไตย ตามคำนิยามของเค้านั้นหมายถึงอะไร อริสโตเติล มองว่า ประชาธิปไตยนั้น คือ การปกครองที่คนส่วนมากมีส่วนร่วมในทางการเมือง แต่กลุ่มคนนั้น กลับขาดซึ่งความหลากหลาย โดยคนส่วนมาก แน่นอนละว่า ไม่ว่ายุคใดสมัยใด คนที่ถึงว่าเป็นกลุ่มใหญ่ของสังคม ก็คือ คนที่มีฐานะต่ำ พูดง่ายๆภาษาชาวบ้านก็คือ คนจน นั่นเอง
แล้วทำไมคนจน ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมกลุ่มเดียวเป็นรัฐบาลถึง ไม่ดี อันนี้คงจะต้องย้อนกลับมาดูที่รูปแบบที่สอง รูปแบบที่สอง ในรูปแบบที่ไม่ดี คือ Oligarchy รูปแบบนี้ คนที่เป็นเสียงส่วนน้อยที่มามีบทบาทในทางการเมือง ก็คือ คนมีอันจะกิน พูดง่ายๆ คือ พ่อค้า นายทุน นั่นเอง คนกลุ่มนี้ก็จะมุ่งเน้นไปที่ความเจริญมั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ของกลุ่มตัวเอง ในขณะที่คนส่วนใหญ่อาจไม่ได้อะไรกลับไปนัก ในขณะที่ Aristocracy นั้น กลุ่มคนที่เข้ามามีบทบาทและอำนาจ ไม่ใช่คนที่มองแต่ประโยชน์ทางธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียว
อริสโตเติลคิดว่าจะเกิดความวุ่นวายของกลุ่มผู้เสียอำนาจ โดยเฉพาะการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (Democracy) อริสโตเติลเชื่อว่าการปกครองแบบดังกล่าวทำให้คนรวยรู้สึกว่าตนเองมีอำนาจน้อยกว่าที่ควรจะเป็นและก่อความวุ่นวายได้
ดังนั้นสำหรับ อริสโตเติลแล้ว Polity ดูจะเป็นทางออกที่ดีกว่า เพราะ Polity จะมีความหลากหลายทางกลุ่มชนชั้นมากกว่า Democracy เพราะ Democracy นั้น กลุ่มคนส่วนใหญ่ที่มีบทบาทคือ คนจน นั้น ก็มุ่งที่จะสร้างให้เกิดความเท่าเทียมกันทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคม เป็นหลัก ในขณะที่ Oligarchy นั้นจะมุ่งสร้างความมั่งคั่งเป็นหลัก แต่อาจไม่ได้มีการกระจายตัวของอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างแท้จริง และ รัฐชาติ ตามความคิดของอริสโตเติลนั้น ไม่ใช่ทั้งองค์กรธุรกิจที่มุ่งแต่ผลกำไร (Oligarchy), หรือไม่ใช่ องค์การที่จะมุ่งเน้นแต่เสรีภาพและความเท่าเทียมกัน (Democracy) แต่เป้าหมายของรัฐ คือ เพื่อชีวิตที่ดีกว่าของสังคม (the good life is the end of the city-state) Polity จึงเป็นคำตอบของอริสโตเติล เพราะเป็นรูปแบบของรัฐ ที่มีการผสมระหว่างคนจน จำนวนมาก กับ คนรวย จำนวนน้อย เพื่อที่จะสร้างสมดุลระหว่างกันให้เกิดขึ้น
อริสโตเติลจึงเห็นว่าการปกครองแบบ Polity เป็นแบบที่สมบูรณ์ที่สุด ด้วยเหตุผลว่าเป็นระบบที่สามารถประนีประนอมมิให้ความขัดแย้งในสังคมระหว่างคนรวยและคนจนถึงขั้นระเบิดออกมา และนักวิชาการไทยบางคนหวังจะนำมาใช้ในสังคมไทยทั้งโดยเปิดเผยและแอบแฝง ทั้งที่จริงแล้ว ทรัพย์สินของคนรวยในสังคมกรีกโบราณก็มิได้มาอย่างสุจริต แต่เกิดขึ้นจากการใช้แรงงานทาสเพื่อทำการผลิตทั้งผลผลิตเกษตรกรรม หัตถการ และสินค้าเพื่อการพาณิชย์
ถ้าเราจะเปรียบเทียบสภาพการณ์ปัจจุบัน จะเทียบกับอะไรได้บ้าง?
คงจะต้องมองว่า เรามี รัฐธรรมนูญ เป็นบรรทัดฐานหรือเป็นแม่บท สำหรับกฎระเบียบต่างๆ ของเรา นั่นแทบไม่ต่างจากแนวคิดของอริสโตเติล แม้แต่น้อย แล้วรูปแบบของการมีส่วนร่วมล่ะ?
คงยากที่จะปฏิเสธว่า รูปแบบการมีส่วนร่วมในปัจจุบัน กับในสมัยของอริสโตเติลนั้น แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะเงื่อนไขในเรื่องของจำนวนคน จำนวนคนในสมัยนั้นที่จะมาเป็น citizen มีส่วนร่วมในการปกครอง มันคงมีเพียงหยิบมือนึง ในขณะที่ถ้าจะเอามาตรฐานนั้นมาวัด เราก็จะได้ คนจำนวนเป็นหลายล้าน ซึ่งถ้าจะให้ทุกคนมามีส่วนร่วมกันตลอดเวลา ก็คงจะเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน ระบบในปัจจุบัน จึงกลายมาเป็นระบบตัวแทน ซึ่งทำให้เกิดการขาดตอนระหว่าง การเลือกตัวแทน กับการมีส่วนร่วมในการปกครอง นั่นคือ เสมือนว่า หลังจากเลือกตัวแทนเสร็จ ก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว รวมถึงการมีส่วนร่วมกับการปกครองอันเป็นสิทธิที่จะทำได้ตามรัฐธรรมนูญ
และเมื่อมีการตัดตอนระหว่างการเลือกตัวแทน กับการมีส่วนร่วมในการปกครอง ผู้ที่มีอำนาจทางการเมือง จึงกลายเป็นรัฐบาลที่มีคนจำนวนเล็กน้อยเป็นผู้ปกครอง และสามารถเทียบได้กับ Aristocracy หรือ Oligarchy เพราะเมื่อคนส่วนใหญ่ถูกตัดออกจากระบบการมีส่วนร่วม ต่อให้มีชื่อว่า ประชาธิปไตย ก็ไม่สามารถบอกได้ว่า นั่นคือ ความหมายที่แท้จริงของประชาธิปไตย